ปรับขนาดตัวอักษร
ปรับสี
แสดงแบบตาราง
ปรับขนาดตัวอักษร
ปรับสี
แสดงแบบตาราง
ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน เกิดขึ้นจากการที่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้พิจารณาเห็นว่าสตรีคนพิการทางการเห็นรุ่นโต แผนกหัตถกรรม ของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ ควรมีสถานที่เฉพาะเพื่อฝึกวิชาชีพ โดยเริ่มจากการฟื้นฟูสมรรถภาพ ฝึกทักษะขั้นพื้นฐานพร้อมทั้งส่งเสริมให้มีอาชีพ ดังนั้นในปี พ.ศ.2524 คณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงได้จัดหาที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารและได้ซื้อที่ดินประมาณ 2 ไร่ ปลูกสร้างอาคาร 2 ชั้น ขึ้น 1 หลัง ที่ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้เซ็นสัญญาข้อตกลงกับ ซิสเตอร์คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ (ซิสเตอร์ซาเลเซียน) เพื่อให้เข้ามาบริหารงานของศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน และเมื่อ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2525 ได้ย้ายสตรีคนพิการทางการเห็นแผนกหัตถกรรมรุ่นแรก จำนวน 27 คน จากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ มาอยู่ ณ ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน อย่างเป็นทางการโดยได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นระยะ จนกระทั่งปัจจุบันศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน สามารถรับสตรีคนพิการทางการเห็นได้จำนวน 60 คน ซึ่งศูนย์ฯ แห่งนี้ได้เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปที่สนใจกิจกรรมด้านสังคมสงเคราะห์ กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปตามหลักสูตรที่ได้วางไว้ด้านความสามารถพื้นฐาน โดยมีครูผู้สอนดูแลฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นทักษะ เกิดความชำนาญ เป็นความรับผิดชอบต่อตนเอง ส่วนรวม และมุ่งหวังให้แบ่งเบาภาระของครอบครัวได้ในอนาคต
มุ่งส่งเสริมคนพิการทางการเห็นให้ได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ส่งเสริมและสนับสนุนให้ได้รับการศึกษา พัฒนาทักษะด้านต่างๆ มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม และจริยธรรมอันดี มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาชีพ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน สังคม ทำให้คนพิการทางการเห็น สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะนำไปสู่การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีเกียรติและศักดิ์ศรี สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาชุมชน สังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน เกิดขึ้นจากการที่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้พิจารณาเห็นว่าสตรีคนพิการทางการเห็นรุ่นโต แผนกหัตถกรรม ของโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ ควรมีสถานที่เฉพาะเพื่อฝึกวิชาชีพ โดยเริ่มจากการฟื้นฟูสมรรถภาพ ฝึกทักษะขั้นพื้นฐานพร้อมทั้งส่งเสริมให้มีอาชีพ ดังนั้นในปี พ.ศ.2524 คณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงได้จัดหาที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารและได้ซื้อที่ดินประมาณ 2 ไร่ ปลูกสร้างอาคาร 2 ชั้น ขึ้น 1 หลัง ที่ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน เป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพด้านการนวดแผนไทย ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทยปี พ.ศ.2556 ซึ่งได้รับการรับรองหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 372 ชั่วโมง และหลักสูตรวิชาชีพการแพทย์แผนไทย 800 ชั่วโมง จากสภาการแพทย์แผนไทย ทางศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพรานมีคนพิการทางการเห็นที่สามารถสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ด้านการนวดไทย จำนวน 12 คน และสามารถสอบขึ้นทะเบียนวิชาชีพครูแพทย์แผนไทย ซึ่งได้รับการรับรองจากสภาการแพทย์แผนไทย จำนวน 4 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ได้รับการรับรองหลักสูตรการนวดไทยเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้พิการทางสายตา 255 ชั่วโมง และหลักสูตรการนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้พิการทางการเห็น 80 ชั่วโมง จากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันคนพิการทางการเห็นสามารถนำวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ออกไปทำงานตามสถานประกอบการ ซึ่งได้รับการจ้างงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาตรา 33/35 นอกจากนี้ยังได้นำวิชาชีพการแพทย์แผนไทยออกให้บริการนวดเพื่อสังคมที่บ้านพักคนชรา ให้บริการนวดการกุศล เพื่อนำรายได้บริจาคในวันแม่แห่งชาติ และวันพ่อแห่งชาติอีกด้วย รวมทั้งยังได้นำผลิตภัณฑ์ฝีมือของคนพิการทางการเห็นออกจำหน่ายในงานออกบูธตามสถานที่ต่างๆ ส่งคนพิการทางการเห็นเข้าประกวดงานฝีมือระดับชาติจนได้รับรางวัลเหรียญเงิน ที่ประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งบรรดาศิษย์เก่าที่จบจากศูนย์ฯแห่งนี้หลายๆรุ่น ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีกิจการเป็นของตนเอง ได้รับตำแหน่งตามองค์กรต่างๆมากมาย เพื่อทำงานด้านคนพิการช่วยเหลือรุ่นน้องสืบต่อไป รวมทั้งยังมีศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลอ่านอักษรเบรลล์มาราธอน รางวัลคนพิการต้นแบบ รางวัลการขับร้องเพลงลูกทุ่ง/เพลงไทยสากล รางวัลผู้ป่วยจิตอาสามิตรภาพบำบัด ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เข้าร่วมบริจาคโลหิตที่สภากาชาติไทย เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อีกด้วย
นางวิไลลักษณ์ ภิกขุณี
นางสาวสมใจ วรรณศิริ
นางสาวเสาวลักษณ์ ส่งเจริญ
นางสาวสมสรวง กองเงิน
นางสาววรัญญา พูลเพิ่ม
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชินูปถัมภ์
420 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 0-2354-8365-68, 0-2354-8370-71
โทรสาร : 0-2354-8369
อีเมล : service@blind.or.th