ปรับขนาดตัวอักษร
ปรับสี
แสดงแบบตาราง
ปรับขนาดตัวอักษร
ปรับสี
แสดงแบบตาราง
ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด เดิมชื่อว่า ศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอดนนทบุรี เกิดขึ้นจากการริเริ่มของคุณหญิงสมานใจ ดำรงแพทยาคุณ (ดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระราชินูปถัมภ์ พ.ศ.2507 – 2510) โดยท่านมีความห่วงใยว่านักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพแล้ว จะไม่สามารถประกอบอาชีพที่มั่นคงในชีวิตได้เนื่องจากขาดทักษะและความชำนาญในวิชาชีพ ในปีพ.ศ.2502 ท่านจึงได้เริ่มดำเนินงานโดยได้รับความร่วมมือจาก คุณปกรณ์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ในขณะนั้น ได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินราชพัสดุย่านปากเกร็ดเป็นสถานที่ก่อสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอด การก่อสร้างเริ่มในปีพ.ศ.2505 โดยสร้างอาคารอำนวยการ หอพัก โรงฝึกงาน โรงครัว และบ้านพักพนักงาน ในการนี้ทางสำนักงบประมาณได้สนับสนุนค่าก่อสร้างโรงฝึกงาน ส่วนทางมูลนิธิฯได้จัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในการฝึกอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิอเมริกันช่วยคนตาบอดโพ้นทะเล
ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด เดิมชื่อว่า ศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอดนนทบุรี เกิดขึ้นจากการริเริ่มของคุณหญิงสมานใจ ดำรงแพทยาคุณ (ดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระราชินูปถัมภ์ พ.ศ.2507 – 2510) โดยท่านมีความห่วงใยว่านักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพแล้ว จะไม่สามารถประกอบอาชีพที่มั่นคงในชีวิตได้เนื่องจากขาดทักษะและความชำนาญในวิชาชีพ ในปีพ.ศ.2502 ท่านจึงได้เริ่มดำเนินงานโดยได้รับความร่วมมือ จาก คุณปกรณ์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ในขณะนั้น ได้อนุมัติให้ใช้ที่ดินราชพัสดุย่านปากเกร็ดเป็นสถานที่ก่อสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอด การก่อสร้างเริ่มในปีพ.ศ.2505 โดยสร้างอาคารอำนวยการ หอพัก โรงฝึกงาน โรงครัว และบ้านพักพนักงาน ในการนี้ทางสำนักงบประมาณได้สนับสนุนค่าก่อสร้างโรงฝึกงาน ส่วนทางมูลนิธิฯได้จัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในการฝึกอาชีพ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิอเมริกันช่วยคนตาบอดโพ้นทะเล
ต้นปีพ.ศ.2506 ศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอดนนทบุรีเริ่มรับนักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นชายรุ่นแรก 15 คน อายุระหว่าง 15-30 ปี เข้ารับการอบรมในหลักสูตรฝึกวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย 6 วิชา ได้แก่ ช่างไม้ ช่างปูน ช่างโลหะ ช่างเย็บหนัง ช่างหวาย และเกษตรกรรม โดยได้ดัดแปลงมาจากหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ใช้เวลาในการฝึก 2 ปี ในเบื้องต้นได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงศึกษาธิการโดยได้ส่งบุคลากร จำนวน 5 ท่าน มาทำหน้าที่เป็นครูใหญ่และฝ่ายปกครอง 1 ท่าน ที่เหลือเป็นครูสอนในวิชาช่างต่าง ๆ โดยการเรียนการสอนจะเน้นหนักไปที่การฝึกอาชีพช่างไม้พร้อมกันนี้ทางศูนย์ฯ ได้เปิดชั้นเรียนสอนวิชาสามัญเบื้องต้นเพิ่มเติมให้อีกด้วย
วันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2507 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง บรมราชินูปถัมภ์ของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอดนนทบุรี
เมื่อดำเนินการเรียนการสอนมาได้ระยะหนึ่ง ทางศูนย์ฯเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นที่จบหลักสูตรวิชาช่าง แต่ไม่สามารถหางานทำได้ จึงได้ตั้งโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ขึ้นมาภายในศูนย์เพื่อผลิตสินค้าจำหน่าย โดยได้รับนักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นที่จบหลักสูตรแล้วเข้าทำงาน
ด้วยวิสัยทัศน์ในการขยายงานช่วยเหลือนักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและอย่างยั่งยืน มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยจึงได้ขอมูลนิธิคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย ให้เข้ามาช่วยเหลือในการบริหารและจัดการกิจการของศูนย์ฯแห่งนี้ ดังนั้นในปีพ.ศ.2520 ทางคณะนักบวชซาเลเซียนได้ส่งบาทหลวงกูสต๊าฟ โรเซนต์ มาเป็นผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอดนนทบุรี ในปีพ.ศ.2524 บาทหลวงชาร์ล เวลาร์โดมารับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของศูนย์ฯ คนต่อมา และท่านได้ทำคุณอเนกอนันต์ให้กับนักเรียนพิการทางการเห็นของศูนย์ฯ ในรูปแบบของโครงการต่างๆมากมาย พร้อมกับปรับเปลี่ยนหลักสูตรวิชาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม และสถานการณ์ปัจจุบัน
หลังจากที่คณะนักบวชซาเลเซียนได้เข้ามาช่วยบริหารจัดการ ได้มีการเปลี่ยนชื่อเดิมจากศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอดเป็นศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาของศูนย์ฯที่ว่า "ความสามารถอยู่ที่เขา เราช่วยกันพัฒนา" เพราะคณะผู้บริหารและบุคลากรของศูนย์เชื่อมั่นในศักยภาพและความสามารถของ ผู้พิการทางการเห็นที่ว่า เพียงหากพวกเขามีโอกาสพัฒนาอย่างเหมาะสมภายใต้การนำที่ดี พวกเขาก็จะสามารถดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติและอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี อย่างมีคุณภาพ และอย่างยั่งยืน
ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดเปิดรับนักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นชายอายุตั้งแต่ 15-45 ปี มีทั้งที่พิการทางการเห็นตั้งแต่กำเนิดและในภายหลัง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หลักสูตรที่ทางศูนย์ฯ ใช้อยู่เป็นหลักสูตรการฝึกอบรม 2 ปี โดยในปีที่ 1 นักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นจะเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในกรอบองค์ ความรู้ 7 วิชา รวม 500 ชั่วโมง ได้แก่ การฝึกทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวด้วยไม้เท้า ภาษาเบรลล์ คอมพิวเตอร์ กายวิภาค การนวดแผนไทย ทอเสื่อ และเกษตรกรรม นอกจากนี้ ยังมีการอบรมจริยธรรมและคุณธรรมประจำวันเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและการครองตนในชีวิตประจำวัน การเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพและต่อยอดไปถึงการแข่งขันในระดับประเทศ เช่น การแข่งขันโกลบอล และยูโด เป็นต้น มีการดูแลและรักษาความบาดเจ็บทางด้านจิตใจโดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่เพิ่งมาสูญเสียการมองเห็นโดยนักจิตวิทยาอนึ่ง วิชาที่ทางศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่ วิชานวดแผนไทย ซึ่งดำเนินการสอนโดยครูพิการทางสายตาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นครูผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยสาขาการนวดแผนไทย
ในปีที่ 2 นักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นจะฝึกปฏิบัติงานจริงในการนวดแผนไทยเป็นเวลา 1,000 ชั่วโมงกับบุคคลภายนอกที่มาใช้บริการ ณ ศาลาสุขสัมผัส การฝึกปฏิบัติงานจริงจะทำให้พวกเขาได้รับทั้งประสบการณ์การนวดแผนไทย การเข้าสังคม ทักษะการประกอบอาชีพ และยังเป็นโอกาสเก็บสะสมทุนสำรองเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต ดังนั้นเมื่อจบหลักสูตรแล้ว พวกเขาสามารถนำทุนสะสมไปลงทุนเปิดสาขา สถานประกอบการนวดแผนไทยภายใต้ชื่อ "สุขสัมผัส" พร้อมตราสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์จดทะเบียนเครื่องหมายบริการของทางศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด หรือพวกเขาอาจไปเป็นพนักงานตามร้านนวดแผนไทย ซึ่งในแต่ละปีมีเจ้าของสถานประกอบการเป็นจำนวนมากยื่นความประสงค์ที่ ต้องการรับนักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นไปเป็นพนักงานนวดของทางร้าน
นอกนั้น ที่นี่ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นสามารถเรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จนจบมัธยมปลายชั้นปีที่ 6 และเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้อีกด้วย
เมื่อนักเรียนที่มีความพิการทางการเห็นจบหลักสูตรนวดสุขสัมผัส 1,500 ชั่วโมงจากศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด จะมี 3 แนวทางเพื่อไปประกอบอาชีพการนวด ดังนี้
ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2556 นอกเหนือจากหลักสูตรการนวดสุขสัมผัส 1,500 ชั่วโมงที่เป็นของทางศูนย์ฯเอง และเป็นหลักสูตรที่ได้สร้างสรรค์หมอนวดพิการทางการเห็นฝีมือชั้นเลิศสู่ตลาดการนวดแผนไทย ทางศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดยังได้การรับรองมาตรฐานจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ให้สามารถออกใบประกาศนียบัตรรับรองผู้ที่จบหลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพสำหรับคนพิการทางการเห็น 255 ชั่วโมง และหลักสูตรการนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพสำหรับคนพิการทางการเห็น 80 ชั่วโมง นอกนั้นยังเป็นศูนย์อบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง และหลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย 800 ชั่วโมงสำหรับคนพิการทางการเห็น ซึ่งได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย
ทางด้านบุคคลที่ได้สร้างเกียรติประวัติในสังคม ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอดได้ผลิตศิษย์เก่าจำนวนมากที่ทำคุณประโยชน์ให้กับกลุ่มคนพิการทางการเห็น อาทิ
นี่เป็นผลิตผลที่ทรงคุณค่าของศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด จากเด็กที่สูญเสียการมองเห็นที่เป็นภาระของครอบครัว อยู่ในโลกส่วนตัวที่มืดมิดและโดดเดี่ยว เมื่อได้มาที่ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด และผ่านกระบวนการอบรมอย่างเข้มข้น พวกเขาสามารถที่จะประกอบอาชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรี ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และอย่างยั่งยืน เพียงแต่ขอพวกเราให้โอกาสและมอบพื้นที่ยืนในสังคมให้กับพวกเขา
มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชินูปถัมภ์
420 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ : 0-2354-8365-68, 0-2354-8370-71
โทรสาร : 0-2354-8369
อีเมล : service@blind.or.th