ปรับขนาดตัวอักษร

ปรับขนาดตัวอักษร

AA

ปรับสี

แสดงแบบตาราง

ปิด
เปิด
ปรับขนาดตัวอักษร
โลโก้ของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย

มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

FOUNDATION FOR THE BLIND IN THAILAND UNDER THE ROYAL PATRONAGE OF H.M. THE QUEEN

ผลิตภัณฑ์และบริการติดต่อมูลนิธิฯ
ห้องสมุดออนไลน์

ศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียง

วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์

กรรมการมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ

อาจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2495 เป็นเด็กปกติทั่วไป แต่ด้วยความคึกคะนองในวัยเด็ก ที่ชอบค้นคว้าและทดลองวิทยาศาสตร์ จนเกิดอุบัติเหตุขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ 2510 ทำให้ดวงตาทั้งสองข้างบอดสนิท จากการได้รับการแนะนำในทางที่ถูกต้องจากผู้คนรอบข้าง โดยเฉพาะ Miss Genevieve Caulfield (สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ) ซิสเตอร์โรสมัวร์ แม่อธิการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จึงทำให้เกิดมีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อมาในฐานะผู้พิการ สมรสกับนางมณี นามศิริพงศ์พันธุ์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน

อาชีพ อาจารย์พิเศษ ตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 10 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รูปภาพ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ศิษย์เก่าที่สร้างชื่อเสียง

ผลงานชิ้นสำคัญ

มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนผลักดันกฎหมาย เกี่ยวกับสิทธิที่ผู้พิการพึงได้รับหลายฉบับ ที่สำคัญคือ

“พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550” โดย พ.ร.บ. ฉบับนี้ ทำให้นายจ้างที่ต้องจ้างงานคนพิการและไม่ได้จ้าง ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามกฎหมาย เพื่อเป็นทุนสําหรับการใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครองและพัฒนาสมรรถภาพคนพิการ การศึกษาและการประกอบอาชีพของคนพิการ รวมทั้งการส่งเสริมและการสนับสนุนการดําเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ส่งผลให้กองทุนฯ มีเงินสะสมสูงถึง 1 หมื่นล้านบาท

ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ได้ทำหน้าที่เป็นแกนนำรณรงค์ให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 (มาตรา 30,55,80) และ พ.ศ.2550 (มาตรา 30,49,54,80) มีบทบัญญัติประกันสิทธิคนพิการและมีแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้พัฒนาคนพิการ ให้พึ่งตนเองได้ ส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล โดยรณรงค์ให้มีพระราชบัญญัติหลายฉบับ ดังต่อไปนี้

- พรบ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534

- พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550

- พรบ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551

- ยกเลิกกฎหมายจำกัดสิทธิคนพิการ ให้มีกฎหมายส่งเสริมหรือขจัดอุปสรรค เพื่อให้คนพิการมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปเช่น พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 และ 2551 ให้คนพิการเป็นข้าราชการพลเรือนได้

- พรบ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550

- พรบ.ข้าราชการการเมือง พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550

- พรบ.การประกอบ โรคศิลปะ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 เป็นต้น

ในขณะเดียวกันได้เร่งรัดให้รัฐบาลลงนามและให้สัตยาบรรณอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิคนพิการ(CRPD) เป็นประธานจัดทำโครงการสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดทำอนุบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งสามารถยกร่างอนุบัญญัติได้ครบถ้วน ซึ่งมีมากกว่า 25 ฉบับ ในระหว่างดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และความมั่นคงแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในระหว่าง พ.ศ.2549-2551 และได้ร่วมผลักดันให้มีกฎหมายเกี่ยวกับเด็กเยาวชนสตรี และความมั่นคงของมนุษย์อีกหลายฉบับ

ศาสตราจารย์วิริยะ ยังเป็นแกนนำรณรงค์ให้มีแผนส่งเสริมและพัฒแนาคุณภาพชีวิตคนพิการฉบับที่ 1 3 (2540-2544) และเป็นประธานโครงการจัดสัมมนาเพื่อจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนของคนพิการ มีการรณรงค์ให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการทราบถึงสิทธิตามกฎหมายของตนและประโยชน์ ของแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับที่ 1-3 อีกทั้งขับเคลื่อนให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามสิทธิและแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการตลอดจนให้ความช่วยเหลือคนพิการ ทางด้านกฎหมาย การศึกษา อาชีพ และความช่วยเหลืออื่น ผ่านองค์กรที่ตนดำรงตำแหน่งกรรมการ และเป็นประธานหลายแห่ง เช่น สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย, สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย, มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอด, มูลนิธิคนตาบอดไทย, มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอดและมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ (พ.ศ.2526-ปัจจุบัน)

อีกทั้งได้มีการจัดทำวิจัย เขียนหนังสือบทความเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนคนพิการ เช่น งานวิจัยการแก้ไขกฎหมาย ศึกษากรณีกฎหมายและระเบียบที่จำกัดสิทธิคนพิการในการประกอบอาชีพ ปีพ.ศ.2546 จัดทำหนังสือ “กฎหมายและนโยบายของรัฐเกี่ยวกับคนพิการ” พ.ศ.2539 บทความศีลธรรมและกฎหมายสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2540, อุปถัมภ์อำนาจนิยมและสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย พ.ศ.2543

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

- สอบได้อันดับที่ 1 ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และได้รับรางวัลภูมิพล

รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม (ด้านกฎหมาย) จากสำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ.2546

- รางวัลคนพิการตัวอย่าง จากสภาสังคมสงเคราะห์ฯ พ.ศ.2527

- รางวัลผู้ให้ความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนงานสวัสดิการคนพิการจากคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2541 ฯลฯ

- รางวัลพ่อดีเด่นแห่งชาติ จากสภาสังคมสงเคราะห์ พ.ศ.2546

- รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ 3 สมัยติดต่อกัน ระหว่าง พ.ศ.2545-2547

เว็บไซต์นี้ใช้ข้อมูลคุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์ที่ดีที่สุด จำเป็นต้องใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลการใช้งานของท่าน หากท่านไม่ต้องการให้เราเก็บข้อมูลสามารถปิดการทำงานของ คุกกี้ได้โดยไปตั้งค่าบราวเซอร์และตั้งค่าความเป็นส่วนตัว นโยบายการใช้งาน Cookie
รูปภาพโลโก้มูลนิธิ